กลไกการขยับสถานะทางสังคมของประชากรกลุ่ม

สมุดปกขาว ‘กลไกการขยับสถานะทางสังคมของประชากรกลุ่มฐานราก’ บทบาทขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร​

โดย :

สานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หยุดความยากจนข้ามรุ่น สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย และ สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยผลวิจัย ‘การศึกษากลไกการขยับสถานะทางสังคมของประชากรกลุ่มฐานราก : บทบาทองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร’ โดยผลจากการวิจัยนี้จะได้นำไปต่อยอดสู่ข้อเสนอแนะเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีความยากจนข้ามรุ่นลดลงและมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอเหมาะสม ตามหมุดหมายที่ 9 ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

ข้อค้นพบที่สำคัญจากงานวิจัยที่สำคัญเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

  • การสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็ก คือกลไกสำคัญในการยุติความยากจนข้ามรุ่น
  • ประเทศไทยมีองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนเป็นหลัก ประมาณ 230 แห่ง
  • การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนเป็นบทบาทที่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรดำเนินงาน
  • องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรทั้งหมดมีการดำเนินงานร่วมกับภาคีทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น
  • สำหรับภาครัฐ มี 7 กระทรวงหลักที่ดำเนินงานเกี่ยวกับกลุ่มเด็กและเยาวชน
  • ภาคเอกชนมีบทบาทสนับสนุนการทำงานด้านเด็กและเยาวชน

ในการวิจัยมีข้อเสนอแนะสำคัญคือ นอกจากการสนับสนุนโอกาสด้านการศึกษา เด็กและเยาวชนเปราะบางยากไร้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบโครงสร้างทางสังคมด้วย

ปีที่เผยแพร่ : 2023

งานวิจัยอื่นๆ

สื่อความรู้ คู่มือเพื่อการพัฒนาอื่นๆ

รายงานอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า