ผมจะไม่ทิ้งการเรียนเด็ดขาด ไนท์ กรวุฒิ 

โครงการอุปการะเด็ก และโครงการส่งน้องจบ ป.ตรี มอบโอกาสการเรียนรู้ให้แก่เด็กเปราะบางยากไร้

“ชื่อไนท์ กรวุฒิ ครับ กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ด้วยน้ำเสียงที่มุ่งมั่น แววตาที่ฉายถึงความภูมิใจอย่างเปิดเผย ของ ไนท์ กรวุฒิ อายุ 22 ปี เด็กในความอุปการะมูลนิธิศุภนิมิตฯ จ.ชัยภูมิ เมื่อเอ่ยแนะนำตัว เพราะกว่าที่ไนท์จะได้เรียนในระดับอุดมศึกษาอย่างวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แม่พาไนท์ในวัยอนุบาลกับน้องชายออกจากบ้านย่าหลังแยกทางจากผู้เป็นสามี มาฝากตา ยาย ให้เลี้ยงดูเป็นวันธรรมดาที่เปลี่ยนชีวิต จากที่เคยกินอิ่มนอนหลับในบ้านหลังใหญ่กลับต้องมานอนบ้านไม้เก่าแค่พอกันแดดฝน แต่ยังโชคดีบ้านของไนท์อยู่ตรงข้ามกับวัด ทำให้ทุกเช้าไนท์จะไปที่วัดเพื่อช่วยเก็บกวาดลานวัด และทุกวันจะได้ข้าวก้นบาตรได้ขนมมากิน

 “ผมขาดช่วงวัยที่ไปเล่นกับเพื่อน ทุกวันที่เลิกโรงเรียนผมต้องไปทำงานในไร่อ้อย ทำตั้งแต่การปลูก ดูแล ตัดอ้อย และขนอ้อยไปขายที่โกดังรับซื้อ” ผลผลิตที่ได้จากการทำอ้อยต้องแบ่งกับเจ้าของที่คนละครึ่ง กำไรที่ได้ตาไปผ่อนรถจักรยานยนต์เพื่อให้ไนท์ใช้เดินทางไปโรงเรียน

“เรียนสูงๆ ให้จบมาเป็นเจ้าคนนายคน เป็นอีกหนึ่งประโยคที่คนเฒ่าคนแก่มักจะเน้นย้ำกับลูกหลาน เพราะหวังว่าจะไม่ต้องลำบากเหมือนตน แต่กับไนท์ไม่ใช่แบบนั้น หลายครั้งที่ตาอยากให้ไนท์ออกมาทำงาน หาเลี้ยงครอบครัว ไม่ใช่เพราะไม่รัก ไม่ใช่เพราะไม่หวังดี แต่เป็นเพราะความจนที่บีบบังคับ

“ต้นทุนชีวิตของผมมีไม่เท่าคนอื่นครับ ถ้าผมไม่พยายามในเรื่องการเรียน ผมและครอบครัวจะยิ่งลำบาก จะทำมาหากินอะไรได้ เพราะครอบครัวเราไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง เป็นเหตุผลที่ผมจะไม่ยอมทิ้งการเรียนเด็ดขาด” ไนท์จึงตัดสินใจไปสมัครเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพื่อเรียนควบคู่ไปกับการเรียนภาคปกติ เพราะถ้าไม่มีเงินจริงๆ จำเป็นต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน อย่างน้อยก็จะได้ใช้ช่องทางการศึกษาผ่าน กศน. เป็นวุฒิการศึกษาเพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

ไนท์ ได้รับความช่วยเหลือผ่าน โครงการอุปการะเด็ก มาตั้งแต่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา และในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไนท์ได้มีโอกาสเข้าร่วม อบรมทักษะอาชีพเยาวชน ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เขาได้เข้ามาเป็นผู้นำเยาวชนศุภนิมิตฯ “ผมร่วมกับกิจกรรมของมูลนิธิศุภนิมิตฯ มาตลอด บางครั้งที่ไปช่วยนำกระบวนการก็มีค่าเดินทาง ค่าอาหารและเบี้ยเลี้ยงบ้าง ผมก็เก็บออมเพื่อใช้เป็นค่าเล่าเรียน มูลนิธิศุภนิมิตฯ ช่วยเหลือให้ผมจบ ม.ปลายมาได้

การได้ลงพื้นที่ชุมชน เพื่อช่วยเหลืองานของมูลนิธิศุภนิมิตฯ เป็นประสบการณ์สำคัญที่เปลี่ยนอนาคตของไนท์ “ช่วงโควิด-19 ผมได้ลงพื้นที่ไปช่วยแจกเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ไปสอนเด็กนักเรียน ไปบ้านคนยากไร้ ตายายที่อยู่กระท่อมเล็กๆ มันทำให้ผมรู้ว่ายังมีคนที่เขาลำบากกว่าผมอีกเยอะ ผมรู้เลยว่าผมต้องกลับมาพัฒนาบ้านเกิด เป็นจุดเปลี่ยนให้ผมอยากเรียนรัฐศาสตร์” 

“จะเกิด จะตาย ก็ต้องไปอำเภอ ผมว่างานที่อำเภอ เป็นอีกงานที่เข้าถึงและช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างใกล้ชิด ผมจะนำความรู้ที่ได้เรียน  มาช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนที่บ้านของผม ว่าที่ปลัดไนท์ นักศึกษาผู้พากเพียรจากวิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าว

เพราะโอกาสที่ท่านผู้อุปการะมอบให้  จากโครงการอุปการะเด็ก และโครงการส่งน้อง จบ ป.ตรี เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ยังทำให้ไนท์ได้เดินต่อไปบนเส้นทางการศึกษา เส้นทางที่เขาเชื่อมั่นว่าจะทำให้ตัวเอง ครอบครัว และชุมชน ได้รับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

มูลนิธิศุภนิมิตฯ แม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรม ‘ส่งเสริมทักษะวิชาชีพในโรงเรียน (การเพาะเห็ดนางฟ้า)’ เติมต้นทุนชีวิต พัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน

“เพาะเห็ดนางฟ้า” สร้างอาชีพ เสริมรายได้ หลังจบการศึกษา

มูลนิธิศุภนิมิตฯ จ.แม่ฮ่องสอน ‘ส่งเสริมทักษะวิชาชีพในโรงเรียน (การเพาะเห็ดนางฟ้า)’ เติมต้นทุนชีวิต พัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า