อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ
29 ปีกับบทบาท ‘อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ – อสต.’ ฮีโร่ผู้เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคใน จ.ระนอง ของ ‘มา ติน มาร์’
แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายมีสิทธิเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขแบบสวัสดิการของไทย ส่วนแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาอย่างไม่ถูกกฎหมายสามารถสมัครประกันสุขภาพโดยชำระเบี้ยรายปีได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญยังคงเป็นอัตราการใช้บริการด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากข้อจำกัดทางสังคมและเศรษฐกิจหลายประการ
มูลนิธิศุภนิมิตฯ มุ่งเน้นการเสริมสร้างระบบบริการสุขภาพให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น เพื่อให้ประชากรข้ามชาติสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลแบบสวัสดิการจากระบบสาธารณสุขของไทยได้อย่างทั่วถึง แนวทางของเราในการเสริมสร้างระบบสุขภาพสำหรับประชากรข้ามชาติประสบความสำเร็จผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรหลัก เช่น หน่วยงานภาครัฐ องค์กรชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ
มูลนิธิศุภนิมิตฯ มีส่วนร่วมในการทำงานอยู่ในคณะกรรมการระดับชาติและคณะทำงานหลายชุด อาทิเช่น
ด้วยความร่วมมือกับองค์กรผู้ให้ทุนและพันธมิตรเพื่อการพัฒนา รวมถึงหน่วยงานสหประชาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) กองทุนโลก (Global Fund) มูลนิธิรักษ์ไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเมื่อปีงบประมาณ 2565-2566 เราได้รับทุนจาก UNICEF, WHO, IOM กองทุนโลก และ สสส. โดยทำงานการตอบสนองการระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19 Response) ในชุมชนประชากรข้ามชาติ ความรอบรู้เรื่องสุขภาพและการป้องกันโรคติดเชื้อ เช่น ไข้เลือดออก โรคฝีดาษลิง โรควัณโรค และเอชไอวี เป็นต้น
นอกจากนี้ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับทุนหลักจาก กองทุนโลก ในการดำเนินงาน โครงการยุติวัณโรคและเอดส์ผ่านชุดบริการ RRTTPR ในประเทศไทย (พ.ศ. 2567-2569, STAR4) เป็นผู้รับทุนรอง (sub-recipient-SR) ภายใต้มูลนิธิรักษ์ไทย ใน โครงการกำจัดเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Regional Artemisinin-Resistance Initiative 4 to Elimination (RAI4E) และเป็นผู้รับทุนรอง (sub-recipient-SR) ภายใต้องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ใน โครงการยุติวัณโรคในกลุ่มประชากรข้ามชาติ (Regional Stop TB Among Migrants 2 (TEAM 2) เราให้บริการด้านสุขภาพแบบบูรณาการแก่ประชากรข้ามชาติภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติด้าน HIV วัณโรค และมาลาเรีย ผ่านการบริการด้วยยุทธศาสตร์ RRTTPR คือ Reach การเข้าถึง – Recruit การรับเข้าระบบบริการสุขภาพ – Test การตรวจวินิจฉัย – Treat การรักษา – Prevent การป้องกัน และ Retain การดูแลอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2566 การทำงานของเรากับ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) ได้รับการยกย่องว่าเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีจาก องค์การอนามัยโลก ในการดำเนินงานรับมือกับโรคโควิด-19 ในปี 2564-2565 มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้ให้การฝึกอบรมให้ความรู้กับอสต. มากกว่า 4,000 คน ด้านวัณโรค เอชไอวี มาลาเรีย โควิด-19 และสนับสนุนให้บูรณาการเข้ากับรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ของไทยอย่างเป็นทางการ
ในปี 2566 ภายใต้พันธกิจด้าน
สุขภาพประชากรข้ามชาติ
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
สามารถดูผลงานของมูลนิธิศุภนิมิต ที่ได้ทำงานร่วมกับผู้ร่วมพันธกิจและผู้บริจาค ตามลิงค์ดังกล่าวด้านล่างนี้
29 ปีกับบทบาท ‘อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ – อสต.’ ฮีโร่ผู้เชื่อมต่อประชากรข้ามชาติและบริการสุขภาพ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคใน จ.ระนอง ของ ‘มา ติน มาร์’
แนวทางจัดการระดับท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการมีส่วนร่วมจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรข้ามชาติพื้นที่กรุงเทพฯ
เราจะสู้ต่อไป จนกว่าเด็กทุกคนจะได้รับการปกป้องคุ้มครอง
เสริมสร้างศักยภาพให้กับเยาวชนเพื่อนำไปสู่ชีวิตที่มีประสิทธิภาพ
อนาคตของเด็กไม่ควรดับวูบลงเพราะความยากจน
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมด