‘สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ’ ปัจจัยจำเป็นในการยุติวัณโรคและเอดส์

มูลนิธิศุภนิมิติฯ และมูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย (FAIR) ผนึกกำลังจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สิทธิมนุษยชน เพศภาวะ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ ความรอบรู้ทางด้านกฎหมายสำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ

เพื่อให้สามารถยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ได้ตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่การยุติวัณโรคและเอดส์ภายในปี พ.ศ.2573 โดยจะขับเคลื่อนแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและจัดรูปแบบบริการโดยชุมชน สร้างเสริมระบบการบริการที่เป็นมิตรแก่กลุ่มประชากรหลัก สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้ระบบของชุมชน และขจัดปัญหาอุปสรรคด้านสิทธิมนุษยชนและเพศสภาวะในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ด้วยการสร้างกลไกในการสนับสนุนชุดความรู้ที่สำคัญ เทคนิคการทำงาน และการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพื่อให้กลุ่มประชากรหลัก เช่น กลุ่มประชากรข้ามชาติ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ พนักงานบริการและคู่ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพด้านวัณโรคและเอดส์ อย่างเท่าเทียม เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ

มูลนิธิศุภนิมิติแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมที่มีการดำเนินงานยุติวัณโรคและเอดส์อย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปีภายใต้การสนับสนุนจาก กองทุนโลก (Global Fund) และยังเป็นผู้รับทุนหลักจากกองทุนโลกในการดำเนินงาน โครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ ประจำปี พ.ศ. 2567-2569 (Stop TB and AIDS through RRTTPR year 2024-2026 – STAR4) ได้ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิทธิความหลากหลาย (FAIR) ผนึกกำลังจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “สิทธิมนุษยชน เพศภาวะ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ ความรอบรู้ทางด้านกฎหมายสำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ” ณ วัฒนา วิลเลจ รีสอร์ท อ.แม่สอด จ.ตาก โดยมีเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ภาคสนาม อาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ ทั้งจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ และจากโครงการ M-Fund ของมูลนิธิดรีมลอปเม้นท์ (DLP) ประจำพื้นที่ปฏิบัติงาน จ.ตาก จ.แม่ฮ่องสอน จ.กาญจนบุรี และพื้นที่เชื่อมต่อประเทศเมียนมา 60 คนเข้าร่วมการอบรมฯ

การอบรมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการบูรณาการงานด้านสิทธิมนุษยชน การตีตราและเลือกปฏิบัติ และความรู้ด้านกฎหมายเบื้องต้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาตจิสามารถขยายขอบเขตการดำเนินงานส่งต่อความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายซึ่งครอบคลุมกลุ่มประชากรข้ามชาติ เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในการบูรณาการด้านสิทธิมนุษยชน

ดร.ศรุต มูลสาร ผู้จัดการโครงการด้านสิทธิมนุษยชน เพศภาวะ และการสร้างเสริมระบบชุมชนที่เข้มแข็ง มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมอบรมในครั้งนี้ว่า

“คำสำคัญที่เราต้องการให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติเข้าใจคือ สิทธิมนุษยชน เพศภาวะ การตีตราและการเลือกปฏิบัติ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การทำงานกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีทั้งกลุ่มประชากรข้ามชาติ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ พนักงานบริการและคู่ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพด้านวัณโรคและเอดส์ อย่างเท่าเทียม เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ มีกำแพงหลายชั้นในการกั้นไม่ให้กลุ่มประชากรหลักเหล่านี้เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพตามสิทธิที่พวกเขาพึงได้รับ ซึ่งรวมถึงการกดทับด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของสังคม”

กลุ่มประชากรข้ามชาติ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย บุคคลข้ามเพศ พนักงานบริการและคู่ ท่ามกลางความหลากหลายนี้ พวกเขาทุกคนเป็นผู้ป่วย HIV หรือไม่ สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV พวกเขาติดเชื้อเพราะมีคู่นอนหลายคนจริงหรือไม่ แล้วผู้มีความหลากหลายทางเพศทุกคนจะต้องเป็นผู้ติดเชื้อ HIV จริงหรือไม่ และสุดท้าย เราในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมยอมรับหรือไม่กับการเรียกขานพี่น้องแรงงานข้ามขาติว่า ‘ต่างด้าว’ ซึ่งเป็นคำที่กดทับสถานะของคนแทนที่จะเรียกขานพวกเขาว่าคนต่างชาติ หรือเรียกขานตามสัญชาติหรือประเทศที่มาของพวกเขา

หากคำตอบคือ ‘ไม่’ ถึงเวลาแล้วหรือยังสำหรับการทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เราหลายคนได้ผลิตสร้างและผลิตซ้ำทางสังคมจากความเชื่อ ความรู้ ทัศนคติ มุมมองต่อประเด็นต่างๆ ทางสังคม ส่งผลให้เกิดการให้คุณค่าหรือลดคุณค่าต่อบางสิ่งบางอย่าง รวมทั้งสร้างภาพเหมารวมทางสังคม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้ทุกคน รวมถึงกลุ่มประชากรหลักต่างๆ สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพด้านวัณโรคและเอดส์ อย่างเท่าเทียม เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

มูลนิธิศุภนิมิตฯ แม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรม ‘ส่งเสริมทักษะวิชาชีพในโรงเรียน (การเพาะเห็ดนางฟ้า)’ เติมต้นทุนชีวิต พัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน

“เพาะเห็ดนางฟ้า” สร้างอาชีพ เสริมรายได้ หลังจบการศึกษา

มูลนิธิศุภนิมิตฯ จ.แม่ฮ่องสอน ‘ส่งเสริมทักษะวิชาชีพในโรงเรียน (การเพาะเห็ดนางฟ้า)’ เติมต้นทุนชีวิต พัฒนาทักษะอาชีพเยาวชน
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า