พัฒนาพื้นที่นำร่องส่งเสริมสุขภาพประชากรข้ามชาติ

สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรข้ามชาติพื้นที่กรุงเทพฯ
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนายุทธศาสตร์และกรอบการดำเนินงานสุขภาพประชากรข้ามชาติในพื้นที่ กทม. โดย สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ

เพราะ ประชากรข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ประชากรข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยมีสิทธิได้รับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพ โดยการมีหลักประกันสุขภาพที่เข้าถึงและได้รับบริการอย่างเป็นธรรมโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตามมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติเมื่อปี พ.ศ.2565 ทั้งนี้ สิทธิด้านสุขภาพ ได้การรับรองว่าเป็นสิทธิมนุษยชน ตาม ข้อ 25 ของปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2491 (1948)

แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการยอมรับในฐานะประเทศที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในการส่งเสริมสุขภาพของผู้โยกย้ายถิ่นฐานและแรงงานข้ามชาติ แต่ก็ยังคงมีข้อท้าทายในการดำเนินงานหลายประเด็น โดยเฉพาะในบริบทพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีลักษณะเฉพาะทั้งการบริหารจัดการ รูปแบบและความหลากหลายของประชากรข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ ล้วนส่งผลถึงการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่ยังไม่ครอบคลุม

ภายใต้การดำเนินงาน โครงการการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรข้ามชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ ของ มูลนิธิศุภนิมิตฯ โดยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการสนับสนุนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติผ่านการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดความร่วมมือในระดับพื้นที่ให้ประชากรข้ามชาติสามารถเข้าถึงได้เพิ่มขึ้นและเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน ได้จัด การประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนายุทธศาสตร์และกรอบการดำเนินงานสุขภาพประชากรข้ามชาติในพื้นที่ กทม. เพื่อพัฒนาความร่วมมือและแผนการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่นำร่อง (Sandbox) เพื่อส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน และการรักษาโรคสำหรับประชากรข้ามชาติในพื้นที่กรุงเทพฯ มีภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้เชี่ยวชาญกว่า 35 คน จากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร สสส. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group-MWG) และเครือข่ายองค์กรด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเกิดเป็น แผนการดำเนินงานโครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาความร่วมมือและแผนการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่นำร่อง (Sandbox) เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ทั้งเพื่อการป้องกัน และการรักษาโรคสำหรับประชากรข้ามชาติในพื้นที่กรุงเทพฯ ใน 3 บริบทพื้นที่ ได้แก่ เขตบางขุนเทียน เขตบางซื่อ และเขตสัมพันธวงศ์ ในการปรับปรุงการให้บริการด้านสุขภาพสำหรับประชากรข้ามชาติให้สอดคล้องและสามารถเข้าถึงได้ตามบริบทของประชากรข้ามชาติในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในลำดับต่อไปจะได้นำไปขยายผลการดำเนินงานในวงกว้างต่อไป

ทั้งนี้ พื้นที่โครงการนำร่องฯ ทั้งเขตบางขุนเทียน เขตบางซื่อ และเขตสัมพันธวงศ์ มีบริบทที่แตกต่างกันในหลายมิติ เช่น การกระจายตัวของประชากรข้ามชาติ ลักษณะการจ้างงาน หน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพ ความหลากหลายทางภาษา เป็นต้น ซึ่งล้วนมีผลต่อระดับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของประชากรข้ามชาติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นข้อท้าทายที่ยังคงมีอยู่ในประเทศไทยและต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในบริบทเฉพาะเพื่อก้าวข้ามข้อท้าทายเหล่านี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า