เปิดกล่องคู่มือ ‘อ่านออกเขียนได้’ ของขวัญสู่โลกแห่งการเรียนรู้

‘โครงการอ่านออกเขียนได้ ทันใจประทับจิต ชีวิตมีคุณภาพ’ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีษะเกษ

‘กอ อะ กะ กอ อา กา กอ อิ กิ’ เสียงเจื้อยแจ้วนี้ดังขึ้นทุกเช้าในห้องเรียน สัญญาณของการเริ่มต้นการเรียนรู้ฝึกอ่าน ฝึกเขียนของเด็กนักเรียนภายใต้ ‘โครงการอ่านออกเขียนได้ ทันใจประทับจิต ชีวิตมีคุณภาพ’ ในพื้นที่การดำเนินงานโครงการพัฒนามูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีษะเกษ

โครงการอ่านออกเขียนได้ ทันใจประทับจิต ชีวิตมีคุณภาพ โดยมูลนิธิศุภนิมิตฯ จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กในวัยเริ่มเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาตอนต้น โดยได้รับการพัฒนาจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีทั้งแบบเรียน แบบฝึกหัด สื่อการเรียนการสอน และคู่มือครู โดยได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการให้สามารถใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนได้

คู่มือนี้ทำได้จริงในโรงเรียนหรือไม่ ฟังจากเสียงบอกเล่าของผู้ใช้จริง

นายอำนาจ น้อยแสง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่การดำเนินงานโครงการพัฒนาฯ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีษะเกษ เล่าย้อนไปว่า “เป็นเวลาเกือบ 10 ปี ที่ได้รู้จักและร่วมงานกับมูลนิธิศุภนิมิตฯ ปัญหาสำคัญของโรงเรียนเราคือการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เด็กที่อยู่ ป.3-ป.4 ยังเจอปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ค่อนข้างเยอะ พบเกือบ 5 % ของโรงเรียน ซึ่งเป็นผลเสียต่อการจัดการเรียน การสอนในระดับชั้นที่โตขึ้น แต่พอได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ เราได้รับการส่งเสริมการอ่าน การเขียนตั้งแต่อนุบาล  โดยมีเครื่องมือที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ และเครือข่ายสายวิชาการได้นำมาพัฒนา เป็นเครื่องมือที่ดีมาก พอเด็กขึ้น ป.1 ก็สามารถอ่านออก เขียนได้ตามที่เราตั้งไว้ ทำให้เด็กเราอ่าน เขียนได้เร็วขึ้นซึ่งมีผลกับการสอบReading Test”

Reading Test คืออะไร

ในทุกปีการศึกษาจะมีการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test) หรือ RT เป็นการทดสอบทักษะการอ่านของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซี่งประเมินการอ่านออกเสียง และการอ่านรู้เรื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และในปีการศึกษา 2566 ล่าสุด พบว่า การอ่านออกเสียงของเด็กทั้งประเทศ คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 79.93 % ด้านการอ่านรู้เรื่องอยู่ที่ 78.06 % ซึ่งของทางโรงเรียนอยู่ที่ 94.26 % และ 87.06 % ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศทั้ง 2 ด้าน

ผอ. อำนาจ เล่าเสริมว่า “คู่มือนี้เราเริ่มใช้ในโรงเรียน ในปี 2562 พัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจนคือ คะแนน RT ของเด็ก ป.1 ของโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศหลายปีติดต่อกัน ซึ่งเป็นผลมาจากหลักสูตรนี้ เวลาเราทำงาน มันมีเป้าหมายเดียวกัน เหมือนเราวิ่งผลัด เราเป็นทีมเดียวกัน ส่งต่อไม้เดียวกัน ปูพื้นมาตั้งแต่สระ พยัญชนะ พอจบเล่ม 4 เด็กอ่านออกเขียนได้ที่ ป.1 พอ ป.2 จะเป็นพัฒนาเรื่องอ่านคล่อง เขียนคล่อง และพัฒนาการอ่านรู้เรื่องต่อไป” ซึ่งชุดแบบฝึกหัดอ่านออกเขียนได้ทันใจฯ มีทั้งหมด 4 เล่ม พร้อมคู่มือ สำหรับใช้ในการพัฒนาการอ่านเขียนได้แก่เด็ก ตั้งแต่ระดับปฐมวัย อนุบาล จนถึงระดับประถมศึกษา ได้แก่นำร้อง เล่น เน้นท่าทาง แจกลูกสะกดคำนำร้องเล่น อ่านเขียน เรียนสุขใจ ทวนอ่านเขียน เรียนประโยค

 

พอเด็กอ่านได้ เขียนได้ เขาอยากเรียนมากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นจากการนำหลักสูตรนี้มาใช้ในโรงเรียน “ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน เป็นหัวใจสำคัญเลย พอเด็กเขามีความมั่นใจ เขาอ่านหนังสือได้ แต่ความพร้อมคนเราไม่เหมือนกัน บางคนพร้อมที่อนุบาล 2 บางคนที่อนุบาล 3 หรือ ป.1 แต่พอดูผลภาพรวมแล้วเขามีความมั่นใจในการเรียนหนังสือ ระดับประถมศึกษาเราเน้นการอ่านออกเขียนได้ ซึ่งการอ่านออก เขียนได้ หรือภาษาไทย เป็นเครื่องมือในการไปเรียนวิชาอื่น”

“แต่ก่อนพอครูให้อ่านไม่ค่อยมีใครอยากอ่านเพราะไม่มีความมั่นใจ ทุกวันนี้พอครูยกชาร์ตให้อ่านเขามีความพร้อม มันเป็นการสร้างความมั่นใจให้เด็ก ทำให้เด็กรักในการเรียน และมีความสุขที่จะเรียนต่อไป” ผอ. อำนาจ เล่าด้วยน้ำเสียงแห่งความภาคภูมิใจ

“หลายปีที่ผ่านมาจำนวนเด็กนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลจากหลักสูตรนี้ พอผู้ปกครองเขาเห็นลูกเขาอ่านออก เขียนได้ ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาตัดสินใจพาลูก พาหลานเข้าเรียนที่โรงเรียนเรา แทนที่จะให้ลูกไปเรียนที่อื่น”

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เด็กนักเรียนรักในการเรียน ครูมีความสุขกับการสอน ผู้ปกครองมั่นใจที่จะส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเล็กๆ ใกล้บ้าน โครงการอ่านออกเขียนได้ ทันใจประทับจิต ชีวิตมีคุณภาพ จึงเป็นดั่งกล่องของขวัญแห่งความสุข ความสนุกของโลกแห่งการเรียนรู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

'ศูนย์สุขภาพชุมชนมะดีนะฮ์ จ.ตาก’ ต้นแบบการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้า

‘ศูนย์สุขภาพชุมชนมะดีนะฮ์ จ.ตาก’ ต้นแบบการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้า

แนวทางจัดการระดับท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการมีส่วนร่วมจากมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า