20 ปี สึนามิ 2004 : บทเรียนแห่งความสูญเสียและความหวัง

จากรอยแผลในอดีตสู่การสร้างความพร้อมในอนาคต เรื่องราวของตะวัน ทรายอ่อน และบทบาทของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน

เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2004 ยังคงเป็นรอยแผลในความทรงจำของคนไทยและโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ของไทย อาทิ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ แม้วันเวลาจะผ่านไปนานกว่า 20 ปี แต่ความสูญเสียและบทเรียนที่เกิดขึ้นยังคงเป็นแรงผลักดันให้คนในพื้นที่และองค์กรที่เกี่ยวข้องพัฒนาศักยภาพในการรับมือภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง 

หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ครั้งนั้นคือ นายตะวัน ทรายอ่อน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตะวันเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาไปตลอดกาล “เหตุการณ์ตอนนั้นเกิดขึ้นเมื่อผมอายุ 1 ขวบ วันนั้นปู่กับพ่อออกเรือไปหาปลา ส่วนผมอยู่บ้าน คลื่นยักษ์ซัดเรือจนแตก พ่อว่ายน้ำกลับขึ้นฝั่งได้แต่ปู่จมหายไปกลางทะเล ไม่กี่นาทีต่อมา คลื่นมหึมาก็ซัดเข้าฝั่ง พาร่างของย่าและน้าผมกลับลงทะเลไป ผมรอดมาได้เพราะมีคนนำผมไปไว้บนต้นไม้” 

หลังจากเหตุการณ์ ตะวันและครอบครัวต้องอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศโศกเศร้า แต่ในความสิ้นหวังก็ยังมีแสงสว่าง มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการฟื้นฟูจิตใจและการส่งเสริมอาชีพ รวมถึงสนับสนุนโครงการอุปการะเด็กที่ช่วยให้ตะวันมีโอกาสศึกษาต่อจนถึงปัจจุบัน “ผมได้รับทุนจากโครงการส่งน้องจบ ป.ตรี และเลือกเรียนสาขาจัดการภัยพิบัติ เพราะอยากนำความรู้ด้านการคาดการณ์และป้องกันภัยธรรมชาติมาพัฒนาบ้านเกิด ผมหวังว่าความรู้เหล่านี้จะช่วยให้ชุมชนของเราพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในอนาคต” 

 

ด้าน ดร.สราวุธ ราชศรีเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย กล่าวถึงบทบาทของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ในการตอบสนองภัยพิบัติว่า “เหตุการณ์สึนามิ 2004 ถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 รายใน 14 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย เราดำเนินการช่วยเหลือตามแนวทาง First In, Last Out โดยในช่วงแรกเน้นการช่วยชีวิตและบรรเทาทุกข์ จากนั้นจึงมุ่งฟื้นฟูชุมชนในระยะยาว ทั้งการสร้างบ้าน ส่งเสริมอาชีพ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปลูกป่าชายเลนทดแทน” 

นอกจากการช่วยเหลือในช่วงวิกฤติแล้ว มูลนิธิศุภนิมิตฯ ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction: DRR) ผ่านการอบรมและถ่ายทอดความรู้ในพื้นที่ที่เคยประสบภัย เช่น ภาคใต้ของไทย เรามุ่งเน้นให้เด็ก ครอบครัว และชุมชนมีความรู้และความพร้อมเพื่อป้องกันภัยพิบัติในอนาคต 

เรื่องราวของตะวัน ทรายอ่อน ตะวันเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในพันธกิจของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ที่ไม่เพียงช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ยังสร้างคนรุ่นใหม่ที่พร้อมส่งต่อความรู้และความช่วยเหลือให้แก่สังคม ถือเป็นการสร้างความยั่งยืนและเกราะป้องกันภัยให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริง

“ขอบคุณมากนะครับทีได้ดูแลเด็กคนหนึ่ง จนเติบโตมาถึงปัจจุบัน ต้องใชคำว่า ขอบคุณ เยอะมากเลยนะครับ ลึกๆ แล้วผมอยากจะเจอท่านสักครั้ง อยากคุย อยากขอบคุณ ที่ท่านได้ดูแล ปกป้อง ให้โอกาสเรียนหนังสือ มีโอกาสได้ออกมาพัฒนาตนเองและทำประโยชน์เพื่อคนอื่น ผมอยากขอบคุณท่านมากๆ นะครับ” ตะวัน กล่าวถึงผู้อุปการะ ทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า