คู่มือการจัดกิจกรรมสนามเด็กเล่นเพื่อเสริมสร้างทักษะสมอง EF

โดย :

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

“อ่านเล่นทำงาน เป็นสามคำสำคัญที่ช่วยสร้าง EF หรือ Executive Function เป็นเรื่องที่ทำได้และทำได้ไม่ยากสำหรับทุกบ้าน ไม่ได้ต้องการความรู้มากมายจากพ่อแม่ ต้องการเพียงแค่เวลา เวลาเป็นของหายาก แต่อะไรที่เราคิดว่าสำคัญ เราจะหามาจนได้ อะไรที่เราคิดว่าไม่สำคัญ ถึงจะมี 24 ชั่วโมงตรงหน้า เราสามารถใช้หมดได้แล้วบอกว่าไม่มีเวลา

… ไม่ช้าก็เร็ว วันหนึ่ง พ่อแม่จะพาลูกไปที่สนามเด็กเล่น… เราให้ลูกไปสนามเด็กเล่นเพื่อเล่น การเล่นสร้างกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก การประสานมือ-สายตา การคิดวิเคราะห์และ EF ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นเสรี อย่างไรก็ตาม เพราะสนามเด็กเล่นมีเครื่องเล่น มีเด็กคนอื่น ๆ และมีกฎ กติกา มารยาท อิสระเสรีนั้นจึงอยู่ภายในขอบเขตหนึ่ง ขอบเขตที่ว่าไม่พ้นสองเรื่อง คือ ไม่เกิดอันตราย และ ไม่รบกวนคนอื่น

…บ้านเรายังมีสนามเด็กเล่นน้อยเกินไป ที่เห็นหลายที่อยู่ในสภาพขาดการดูแล การหวังพึ่งผู้อื่นให้เพิ่มจำนวนสนามเด็กเล่น จัดหาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ไปจนถึงจัดระเบียบการดูแลให้ใช้ได้โดยปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ไม่สามารถฝากความหวังให้แก่รัฐหรือผู้จัดหา (Supply) ฝ่ายเดียว เป็นหน้าที่ของพวกเราเองคือผู้ใช้ประโยชน์ (Demand) ที่จะต้องเรียกร้องและขวนขวายผลักดันระบบให้เห็นความสำคัญของสนามเด็กเล่น แล้วจัดหามาให้แก่เด็ก ๆ ของเรา

หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่เราต้องใช้เพื่อการนี้”

บางส่วนจากคำนิยมโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

 ปีที่เผยแพร่ : 2021

งานวิจัยอื่นๆ

สื่อความรู้ คู่มือเพื่อการพัฒนาอื่นๆ

รายงานอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า