รายงานวิจัยแนวทางการปฏิบัตินโยบาย ความปลอดภัยในโรงเรียนด้านภัยพิบัติ ภายใต้การดำเนินโครงการของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

รายงานวิจัยแนวทางการปฏิบัตินโยบาย ความปลอดภัยในโรงเรียนด้านภัยพิบัติ

โดย :

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ความเสียหายจากภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อบุคคลและประเทศชาติในทุกด้าน ทั้งความปลอดภัย สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพ เศรษฐกิจ ภัยธรรมชาติถือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา หลายประเทศทั่วโลกจึงได้ยึด กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573 (Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030) ซึ่งประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ 187 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้ให้รับรองในการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ครั้งที่ 3 ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ยุทธศาสตร์การลดความเสี่ยงภัยพิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้มีการดำเนิน โครงการด้านการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และเครือข่ายหน่วยงานพัฒนาเอกชน โดยการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องใน พ.ศ. 2559-2563

รายงานวิจัยแนวทางการปฏิบัตินโยบาย ความปลอดภัยในโรงเรียนด้านภัยพิบัติ ภายใต้การดำเนินโครงการของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาการนำนโยบายความปลอดภัยในโรงเรียนด้านภัยพิบัติไปปรับดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ

  • การสำรวจความพร้อมของสถานศึกษาด้านการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาสู่การสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศภัยพิบัติและแผนที่เสี่ยงภัยพิบัติของสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ หรือ http://www.obec-hazardmap.com/index.php
  • โครงการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติในโรงเรียน thaisafeschools.com ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นหนึ่งในหลักสูตรสำหรับการเพิ่มวิทยฐานะให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและครู
  • กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการรองรับภัยพิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโรงเรียนปลอดภัยรอบด้านในอาเซียน (ASSI)
  • กิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข้งแก่คณะกรรมการจัดการภัยพิบัติ เพื่อส่งเสริมกลไกความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนผ่านคณะกรรมการภัยพิบัติในสถานศึกษา (School Disaster Management Committee)

รายงานวิจัยแนวทางการปฏิบัตินโยบาย ความปลอดภัยในโรงเรียนด้านภัยพิบัติฯ ยังได้มีข้อเสนอแนะสำคัญเพื่อให้การดำเนินงานสร้างความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยในโรงเรียนด้านภัยพิบัติมีความต่อเนื่อง ตอบสนองบริบทของภัยธรรมชาติ และภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการบูรณาการให้อยู่ในยุทธศาสตร์งานพัฒนาชุมชน งานพัฒนาเด็ก ผ่านความร่วมมือทางยุทธศาสตร์กับองค์กรภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และสถานศึกษา

ปีที่เผยแพร่ : 2023

งานวิจัยอื่นๆ

สื่อความรู้ คู่มือเพื่อการพัฒนาอื่นๆ

รายงานอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า