รายงานการวิจัยเรื่อง สถานการณ์และแนวโน้มการล่อลวงคนไทยไปแสวงหาประโยชน์เพื่อธุรกิจผิดกฎหมาย และค้ามนุษย์ ใน 3 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

การค้ามนุษย์ ‘แสกมเมอร์-Scammer’ รูปแบบ แนวโน้ม และสถานการณ์

โดย :

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

การต่อต้านการค้ามนุษย์คือพันธกิจสำคัญอย่างหนึ่งของ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อลดการค้ามนุษย์ ปกป้องสิทธิของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เสริมสร้างระบบการปกป้องคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ให้เข้มแข็งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนยุทธศาสตร์ในการต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย

รายงานการวิจัยเรื่อง สถานการณ์และแนวโน้มการล่อลวงคนไทยไปแสวงหาประโยชน์เพื่อธุรกิจผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ใน 3 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดย มูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมมือกับ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มกับผู้เสียหายจำนวน 20 คน ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการเดินทางไปทำงานที่เมืองปอยเปต ราชอาณาจักรกัมพูชาและเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ สปป.ลาว และผู้ให้บริการช่วยเหลือผู้เสียหายจำนวน 20 คนในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดสระแก้ว 

รายงานการวิจัยฉบับนี้นับเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมตามหลักวิชาการฉบับแรกๆ ที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการค้ามนุษย์โดยการบังคับและหลอกเหยื่อให้ทำงานเป็น ‘แสกมเมอร์ – Scammer’ หรือคอลเซ็นเตอร์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศเพื่อนบ้าน และมีเหยื่อคนไทยที่มีการศึกษาดี สามารถสื่อสารภาษาจีน หรือภาษาอังกฤษได้ ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น

จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้เสียหายและผู้ให้บริการผู้เสียหายในครั้งนี้ สะท้อนถึงสถานการณ์และรูปแบบการค้ามนุษย์ในปัจจุบันที่มีความแตกต่างจากในอดีต เส้นทางการเดินทางของผู้เสียหาย วิธีการล่อลวงผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ปัจจัยในการเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ตลอดจนกลไกการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทยและประเทศปลายทาง (สปป.ลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา) ที่ถือเป็นส่วนสำคัญในการปกป้องคุ้มครองผู้เสียหาย

จากข้อค้นพบในรายงานวิจัย ทีมวิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ได้แก่

  • การให้ความรู้ แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในพื้นที่แนวชายแดนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  • การยกระดับองค์ความรู้ ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้เป็นรายวิชาหรือหลักสูตรการศึกษา
  • การจัดตั้งคณะทำงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในระดับจังหวัด โดยมีบทบาทเฉพาะและแยกขาดจากหน่วยงานอื่นๆ
  • การจัดสรรงบประมาณ ที่เพียงพอและยืดหยุ่นเพื่อการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism: NRM)
  • การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนกลไกการทำงานที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงในพื้นที่และระหว่างประเทศ เพื่อการให้ปกป้องและคุ้มครองผู้เสียหาย

ปีที่เผยแพร่ : 2024

งานวิจัยอื่นๆ

สื่อความรู้ คู่มือเพื่อการพัฒนาอื่นๆ

รายงานอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า