เพิ่มทักษะดิจิทัลให้เด็กในโรงเรียนห่างไกล

ทีดีซีเอ็กซ์ ประเทศไทย ร่วมสร้างห้องสมุดดิจิทัลโรงเรียนภูพานวิทยา จ.อุดรธานี
ทีดีซีเอ็กซ์ ประเทศไทย ร่วมสร้างห้องสมุดดิจิทัลโรงเรียนภูพานวิทยา จ.อุดรธานี

การระบาดของโควิด-19 ทำให้เด็กนักเรียนต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์ แต่จากการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่ามีปัญหาหลักอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ประการแรกเด็กขาดอุปกรณ์ ประการที่สองความไม่พร้อมของคน ทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง ส่วนประการที่สามเป็นเรื่องของงบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ ดังนั้น มูลนิธิศุภนิมิตฯ จึงได้ร่วมมือกับ ทีดีซีเอ็กซ์ ประเทศไทย ในนาม มูลนิธิทีดีซีเอ็กซ์ ริเริ่มโครงการนำร่อง Digitizing Library Program in Rural School ซึ่งเป็นโครงการที่ให้เด็กนักเรียนได้สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ด้วยการจัดหาทุนสำหรับแปลงโฉมห้องสมุดโรงเรียนในพื้นที่ชนบทให้เป็นห้องสมุดระบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ด้านดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น

คุณชัยทัศ จุลการ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ทีดีซีเอ็กซ์ ประเทศไทย กล่าวว่า การร่วมมือกับมูลนิธิศุภนิมิตฯ ในครั้งนี้ มูลนิธิทีดีซีเอ็กซ์ได้สนับสนุนทุนเพื่อแปลงโฉมห้องสมุดโรงเรียนในพื้นที่ชนบทของจังหวัดอุดรธานี ที่อยู่ในพื้นที่ดำเนินงานของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ให้เป็นระบบดิจิทัลเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบดิจิทัล โดยห้องสมุดของโรงเรียนจะถูกติดตั้งอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป และซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษา ให้เด็กสามารถเข้าร่วมในโปรแกรมอีเลิร์นนิ่งต่างๆ ได้ เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัล ซึ่งถือเป็นโครงการแรกของมูลนิธิทีดีซีเอ็กซ์ในประเทศไทย หลังจากได้ก่อตั้งในเดือนตุลาคมเมื่อปีที่ผ่านมา สำหรับแผนในลำดับต่อไปคือส่งเสริมและให้การสนับสนุนการศึกษาของไทยในภาพรวม โดยเฉพาะการส่งเสริมและพัฒนาด้านดิจิทัลเป็นหลัก

ดร.สราวุธ ราชศรีเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบห้องสมุดในพื้นที่ห่างไกลให้เป็นระบบดิจิทัล เพื่อให้เด็กนักเรียนและชาวบ้านในพื้นที่สามารถเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตอย่างไร้ข้อจำกัด โดยเริ่มที่ โรงเรียนภูพานวิทยา จังหวัดอุดรธานี เป็นแห่งแรก ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในชนบท ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมขนาดเล็ก มีนักเรียนจำนวน 196 คน อาจารย์ 21 คน และมีประชากรในพื้นที่ 1,850 คน โรงเรียนมีห้องสมุดพร้อมหนังสืออ่านเสริมความรู้จำนวนน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เก่าและไม่ได้รับการปรับปรุง ห้องสมุดไม่มีคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลดิจิทัลและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โต๊ะและเก้าอี้ในห้องสมุดไม่ได้มาตรฐานตามหลักสรีรศาสตร์ อัตราการเข้าเรียนของนักเรียนต่ำ เนื่องจากโรงเรียนไม่สามารถจัดหาห้องสมุดที่มีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่น่าสนใจ และสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยได้ การร่วมมือกับทีดีซีเอ็กซ์ ประเทศไทย ในครั้งนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการแก้ไขข้อจำกัดทั้งหมดดังกล่าว

คุณอัญชลี ศิริพานิชวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการเงินและบัญชี ทีดีซีเอ็กซ์ ประเทศไทย กล่าวว่า ในฐานะที่ทีดีซีเอ็กซ์ เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล เราเชื่อมั่นในพลังของเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น การเริ่มต้นโครงการห้องสมุดดิจิทัลนี้ มูลนิธิทีดีซีเอ็กซ์จะให้งบประมาณสนับสนุนโครงการนำร่องใน 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเน้นในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลโดยเฉพาะ สำหรับโรงเรียนภูพาน จังหวัดอุดรธานี มูลนิธิทีดีซีเอ็กซ์ ได้มอบเงินทุนจำนวน 15,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อการเปลี่ยนแปลงให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไอที และทักษะที่จำเป็นในโลกดิจิทัล เพื่อให้เด็กนักเรียนในต่างจังหวัดได้มีศักยภาพด้านดิจิทัลเทียบเท่ากับเด็กในเมือง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า