ศุภนิมิตฯ หน่วยงานดีเด่นสนับสนุนป้องกันควบคุมโรค

มูลนิธิศุภนิมิตฯ รับโล่หน่วยงานดีเด่นภารกิจการป้องกันควบคุมโรคประชากรข้ามชาติ
GAM-รับโล่กรมควบคุมโรค

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย โดย คุณหลินฟ้า อุปัชฌาย์ ผู้จัดการทุนด้านผู้หญิงและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายถิ่นฐาน ได้เป็นตัวแทนในการรับมอบโล่หน่วยงานดีเด่น หน่วยงานสนับสนุนภารกิจด้านการป้องกันควบคุมโรคระหว่างประเทศ และประชากรข้ามชาติในประเทศไทย จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

นอกจากจุดมุ่งเน้นในการช่วยเหลือเด็กในภาวะเปราะบางยากไร้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว มูลนิธิศุภนิมิตฯ โดยการสนับสนุนจากแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ ยังมุ่งเน้นพันธกิจเสริมสร้างบริการระบบสาธารณสุขเพื่อให้กลุ่มประชากรข้ามชาติในประเทศไทยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ควบคุม และป้องกันโรค รวมถึงการสนับสนุนให้กลุ่มประชากรข้ามชาติในประเทศไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชน ต่อต้านการค้ามนุษย์ และการส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กที่เป็นกลุ่มประชากรข้ามชาติด้วย ทั้งนี้โดยมีโครงการและผลการดำเนินงานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น

 

โครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ ด้วยชุดบริการ RRTTPR

มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนโลก มาตั้งแต่ปี 2003 ในการดำเนินงานโครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ โดยดำเนินงานในกลุ่มประชากรข้ามชาติ ให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการข้อมูล การป้องกัน ตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษา รวมถึงการสนับสนุนและช่วยเหลือ การรณรงค์ให้ทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อโดยไม่ตีตราหรือเลือกปฏิบัติ ปัจจุบันโครงการยุติปัญหาวัณโรคและเอดส์ฯ ดำเนินงานใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เชียงราย ตาก ระนอง และภูเก็ต

TB&HIV Cross border Referral system: THCR ระบบการส่งผู้ป่วยข้ามแดนระหว่างประเทศ และการติดตามผู้ป่วยมูลนิธิศุภนิมิตฯ ภายใต้การสนับสนุนจาก กองทุนโลก ได้ร่วมกับ มูลนิธิเอดส์ เฮลท์ แคร์ (ประเทศไทย) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง และ Ministry of Health and sports โรงพยาบาลเกาะสอง ประเทศเมียนมา ร่วมพัฒนากลไกและความร่วมมือด้านสาธารณสุขในการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค ผู้มีเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และมาลาเรีย ระหว่างประเทศบริเวณชายแดนจังหวัดระนอง ประเทศไทย และเกาะสอง ประเทศเมียนมา เพื่อให้กลุ่มประชากรข้ามชาติสามารถเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ ได้รับการดูแล ทั้งเฝ้าระวัง นำส่งสู่การรักษาพยาบาล การติดตามการรักษา รวมถึงการส่งตัวกลับสู่ประเทศต้นทางในกรณีที่ผู้ป่วยแจ้งความประสงค์ ซึ่งจะส่งผลสู่การควบคุม ป้องกัน การร่วมกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่อสำคัญให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไปด้วย ‘วัคซีน COVID-19’ สิทธิพื้นฐานด้านสุขภาพแรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติเข้าไม่ถึงสิทธิด้านสุขภาพในช่วงวิกฤต COVID-19 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เปิดให้เห็นถึงบาดแผลในสังคมเกี่ยวกับปัญหาสิทธิพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติประเทศไทยซึ่งมีแรงงานข้ามชาติอยู่ประมาณ 5 ล้านคน แต่ประมาณการณ์ว่ามีเพียง 24% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงและได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ครบ 2 เข็ม … แรงงานข้ามชาติทุกคนควรเข้าถึงสิทธิพื้นฐานด้านสุขภาพ ในวิกฤต COVID-19 มูลนิธิศุภนิมิตฯ โดยการสนับสนุนจาก องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO Thailand) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ สนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงบริการวัคซีนกว่า 100,000 คน

โรงพยาบาลสนาม จ.ระนอง

มูลนิธิศุภนิมิตฯ โดยการสนับสนุนจาก องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ได้ทำงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ค้นหาผู้ป่วย COVID-19 เชิงรุก (Active Case Finding) ในชุมชนประชากรข้ามชาติ คัดกรองอาการสงสัย และส่งต่อผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ซึ่งจำเป็นต้องกักตัวที่โรงพยาบาลสนาม

สำหรับที่จังหวัดระนอง มูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับ จังหวัดระนอง โรงพยาบาลระนอง เทศบาลเมืองบางริ้น จัดตั้ง โรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยประชากรข้ามชาติที่ได้รับเชื้อ COVID-19 จำนวน 5 แห่ง พร้อมร่วมสนับสนุนเจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ และอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างชาติ ร่วมทำหน้าที่สื่อสารกับผู้ป่วย และมีการบริการรักษาทั้งการรับผู้ป่วยรายใหม่ การส่งอาหาร การแจ้งอาการผู้ป่วยที่ฉุกเฉิน

อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างชาติ

มากกว่า 20 ปีแล้วสำหรับการทำงานของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ในการส่งเสริมสิทธิ สร้างสุขภาวะ ป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ ในกลุ่มเด็กและประชากรข้ามชาติ เราตระหนักดีว่ากำแพงด้านภาษาเป็นอุปสรรคที่สำคัญ เราเห็นโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ต้องการความช่วยเหลือได้มากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของ การขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างชาติ

ปัจจุบันมีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างชาติมากว่า 300 คน ใน 11 พื้นที่ทำงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม สระแก้ว เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ระนอง และภูเก็ต 

ทั้งนี้ ในปี 2022 ที่ผ่านมา มูลนิธิศุภนิมิตฯ สามารถสนับสนุนประชากรข้ามชาติกว่า 152,000 คน ผ่านงานตอบสนองและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โครงการยุติปัญหาเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และการต่อต้านการค้ามนุษย์ และยังสนับสนุนให้เด็กข้ามชาติกว่า 3,000 คนได้รับโอกาสด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย รวมถึงการจดทะเบียนแจ้งเกิดด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนายุทธศาสตร์และกรอบการดำเนินงานสุขภาพประชากรข้ามชาติในพื้นที่ กทม. โดย สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ

พัฒนาพื้นที่นำร่องส่งเสริมสุขภาพประชากรข้ามชาติ

สสส. และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับประชากรข้ามชาติพื้นที่กรุงเทพฯ
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า