“ยางเปาคอฟฟี่” นวัตวิถีของดียางเปา 

ผลิตภัณฑ์กาแฟจากโรงเรียนของพื้นที่ดำเนินโครงการพัฒนาอมก๋อย จ.เชียงใหม่

กาแฟ เครื่องดื่มยอดนิยม ที่ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหนก็มักจะพบภาพคุ้นชิน ที่ผู้คนรอบข้างจะถือเครื่องดื่มที่มีสีน้ำตาลเข้มทั้งร้อนและเย็นในมือ 

อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ คือ หนึ่งในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า ด้วยภูมิประเทศที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800 – 1,200 เมตร และมีปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะ ทั้งยังมีดินที่สมบูรณ์และอากาศที่เย็นตลอดทั้งปี ทำให้ “กาแฟอมก๋อย” เป็นอีกหนึ่งชื่อที่คอกาแฟมักได้ยินชื่อผ่านหูอยู่เสมอ

นายวิชิตพล มีแก้ว ครูชำนาญการ ย้อนภาพถึงจุดเริ่มต้นของการดำเนินโครงการฯ ว่า “ด้วยวิถีชุมชนอมก๋อย เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชาวบ้านมีการทำเกษตรที่หลากหลาย รวมถึงการปลูกกาแฟ แต่ที่ผ่านมาด้วยขาดความรู้ในเรื่องการดูแลต้นกาแฟ การเก็บผลผลิตที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เมล็ดกาแฟเสียคุณภาพขายไม่ได้ราคา ไม่คุ้มค่าขนส่ง ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทิ้งต้นกาแฟ เพื่อไปดูแลผลผลิตทางการเกษตรอย่างอื่น แต่เราไม่คิดแบบนั้น เรามองว่ากาแฟจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะช่วยอนุรักษ์ป่า สร้างรายได้และอาชีพ นั้นคือจุดเริ่มต้นของยางเปาคอฟฟี่ในวันนี้ครับ”

ด้วยตระหนักร่วมกันว่าความยากจน เป็นส่วนหนึ่งที่ปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาของเด็ก มูลนิธิศุภนิมิตฯ พื้นที่โครงการพัฒนาฯ อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และโรงเรียนในพื้นที่ดำเนินงานฯ ร่วมกันทำงานเพื่อแก้ไขวงจรแห่งความยากจน ให้เด็กที่เปราะบางสามารถบรรลุศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ดำเนิน “โครงการฝึกอบรมเยาวชนด้านทักษะอาชีพการเกษตรในโรงเรียนการเพาะปลูกกาแฟ” เติมทุนชีวิต พัฒนาทักษะอาชีพการปลูกและแปรรูปกาแฟ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ตั้งแต่การเพาะปลูก ดูแล เก็บผลผลิต จนถึงการแปรรูปเพื่อจำหน่าย

ยางเปาคาเฟ่ และ ยางเปาคอฟฟี่ คือ ผลผลิตของการดำเนินโครงการฯ นอกจากจะเสริมทักษะและสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้กับนักเรียนแล้ว ทางโครงการฯ ยังได้มีการเข้าไปส่งเสริมความรู้แก่ผู้ปกครอง ในเรื่องการปลูกกาแฟแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ การบำรุงรักษาต้นกาแฟ และการเก็บผลผลิต รวมถึงการรับซื้อผลผลิตเมล็ดกาแฟ เพื่อให้ครอบครัวของนักเรียนมีรายได้ นอกจากนั้นแล้วทางโรงเรียนฯ ยังได้แบ่งรายได้จากการจำหน่ายกาแฟ ตั้งเป็นกองทุนเงินช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน ซึ่งบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการที่มีตัวแทนของครู และนักเรียน มีส่วนร่วมในการพิจารณาใช้เงินกองทุนอีกด้วย

“หนูรู้สึกดีใจมากเลยค่ะที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมฝึกทักษะการทำกาแฟและทำเครื่องดื่มต่างๆ ตอนนี้หนูสามารถชงกาแฟและทำเครื่องดื่มได้หลายอย่างเลยค่ะ อนาคตข้างหน้าหนูมีความฝันว่าจะลงทุนเปิดร้านกาแฟทำเป็นคาเฟ่เล็กๆ เป็นของตัวเอง และหนูรู้สึกขอบคุณมูลนิธิศุภนิมิตฯ เป็นอย่างมากค่ะที่ได้ให้โอกาสและส่งเสริมด้านทักษะอาชีพ ขอบคุณมากค่ะ” เด็กหญิงบุญสิตา อายุ 14 ปี ตัวแทนนักเรียน กล่าวด้วยรอยยิ้ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป้ายกำกับ
Child Rights Climate Change CSR Human Rights Migrant SDG กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพ การจัดการภัยพิบัติ การตีตราและเลือกปฏิบัติ การพัฒนาสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของเด็ก ความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืน ความยุติธรรมในสังคม (Social Justice) ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรุนแรงต่อเด็ก งานรณรงค์เพื่อเด็ก จัดการภัยพิบัติ จิตอาสา ทักษะชีวิตเยาวชน ทักษะอาชีพเยาวชน นโยบายการพัฒนาเด็ก น้ำเพื่อชีวิต บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน บริจาคทุนการศึกษา บริจาคเงิน ปกป้องคุ้มครองเด็ก ผู้นำเยาวชน พัฒนาชุมชน ภัยพิบัติ ยุติวัณโรค/End TB ยุติเอดส์/Stop AIDS สังคมแห่งการแบ่งปัน สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก ส่งน้องจบ ป-ตรี อดีตเด็กในความอุปการะ อ่านออกเขียนได้ เด็กข้ามชาติ เด็กยากไร้ เสียงเด็กและเยาวชน แรงงานข้ามชาติ แรงงานข้ามชาติ/ประชากรข้ามชาติ แรงงานต่างชาติ

ข่าวอื่นๆ

Keep Bottle Exchange Money โครงการเก็บขวดเปลี่ยนเป็นเงิน 

รางวัลเชิดชูเกียรติเครือข่ายเด็กและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567 “รางวัลประเภทเหรียญเงิน”
อ่านต่อ »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า